ตรวจสอบอาคาร
บริการตรวจสอบอาคาร ตรวจสอบอาคารประจำปี ตรวจสอบอาคารประเภทตรวจสอบใหญ่ ตรวจสอบอาคารตามกฎหมายตาม พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 ตรวจสอบไฟฟ้าประจำปี ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร รายละเอียดการตรวจสอบอาคาร
การตรวจสอบใหญ่
เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ ตามที่กล่าวมาแล้ว โดยให้กระทำทุก 5 ปี ในการตรวจสอบใหญ่ทุกครั้ง ผู้ตรวจสอบต้องจัดทำแผนต่างๆ ดังนี้
(1) แผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร รวมทั้งคู่มือปฏิบัติการตามแผน ดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคารเพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษา และการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาอาคาร
(2) แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารประจำปีรวมทั้งแนวทางการตรวจสอบตามแผน ดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคารเพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารประจำปี
การตรวจสอบประจำปี
เป็นการตรวจสอบตามแผนการตรวจอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่ การตรวจสอบประจำปีให้กระทำทุกปี
รายการที่ต้องตรวจสอบ
กฏหมายได้กำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ต้องทำการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
(1.1) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(1.2) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
(1.3) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
(1.4) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
(1.5) การชำรุดสึกหรอของอาคาร
(1.6) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
(1.7) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
(2) การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
(2.1) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
(2.1.1) ระบบลิฟต์
(2.1.2) ระบบบันไดเลื่อน
(2.1.3) ระบบไฟฟ้า
(2.1.4) ระบบปรับอากาศ
(2.2) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(2.2.1) ระบบประปา
(2.2.2) ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(2.2.3) ระบบระบายน้ำฝน
(2.2.4) ระบบจัดการมูลฝอย
(2.2.5) ระบบระบายอากาศ
(2.2.6) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ
(2.3) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
(2.3.1) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(2.3.2) เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(2.3.3) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
(2.3.4) ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
(2.3.5) ระบบลิฟต์ดับเพลิง
(2.3.6) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(2.3.7) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
(2.3.8) ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
(2.3.9) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
(2.3.10) ระบบป้องกันฟ้าผ่า
(3) การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่่ออพยพผู้ใช้อาคาร
(3.1) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(3.2) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(3.3) สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(4) การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
(4.1) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย
(4.2) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
(4.3) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
(4.4) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
อาคารที่ต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ได้แก่
1. อาคารสูง (อาคารที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับ พื้นดินที่ก่อสร้างถึงพิ้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียว หรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป)
3. อาคารชุมนุมคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป)
4. โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระกิจ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)
5. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
6. อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับ หลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป สำหรับอาคารชุดและอาคาร อยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับผ่อนผันเรื่องกำหนดเวลาการตรวจสอบคือ
- กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่กิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการ ตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555
- กรณีที่มีพื้นที่อาคารกันในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการ ตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553
7. อาคารโรงงาน ที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
8. ป้าย สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
9. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
ทั้งนี้ อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่ง รายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550 สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง) อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ